|
ประวัติตำบลช้างขวา |
มีประวัติเล่าสืบต่อกันมาช้านานเกี่ยวกับตำบลช้างขวา คือ เมื่อก่อนมีนายซิ่น บ้านเดิมอยู่ในหมู่ที่ 1 ตำบลช้างซ้าย และมีเพื่อนอีกคน ชื่อ นายเขียว ฟื้นเพเดิมอยู่ที่บ้านพุฒ ปัจจุบันตั้งอยู่ในหมู่ที่ 3 ตำบล
ช้างขวาทั้งสองท่านมีอาชีพรับจับช้างป่าขาย เพื่อนำไปฝึกไว้ใช้งาน ซึ่งในสมัยก่อนพื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นป่าและมีช้าง อยู่มากทั้งสองได้ไปทำคอกดักช้างที่บ้านคลองสระ ตำบลป่าร่อนในปัจจุบัน และได้จับช้างเผือกได้
1 เชือกเป็นช้างพังจึงได้นำขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ท่านทรงได้พระราชทานสิ่งของต่างๆ ให้แก่บุคคลทั้งสอง อันได้แก่ ผ้าไหมแพร เงิน ทองคำ เป็นต้น และได้พระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์แต่งตั้งเป็น ท่านขุน ให้ดูแลปกครองประชาชนในสมัยนั้น ดังนี้
1. นายซิ่น แต่งตั้งให้เป็น ขุนคชาเชนทร์
2. นายเขียว แต่งตั้งให้เป็น ขุนบริบาลคชภูมิ
เมื่อท่านขุนทั้งสองได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และสิ่งของต่างๆ แล้วจึงได้กราบบังคมลาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับ และพระองค์ยังได้พระราชทานช้างให้อีกคนละ 1 เชือก เมื่อเดินทางมาถึงทางสองแพร่ง ทั้งสองได้แยกย้ายกันไปคนละทางสู่หมู่บ้านของตนเอง โดย ขุนคชาเชนทร์ แยกไปทางซ้ายและปกครองประชาชนในพื้นที่นั้น และให้ชื่อตำบลที่ตนเองปกครองว่า ตำบลช้างซ้าย ตามช้างที่นำมาแล้วแยกไปทางซ้ายมือ ส่วนขุนบริบาลคชภูมิ ได้นำช้างและสิ่งของพระราชทานแยกไปทางขวา
สู่หมู่บ้านของตนเอง และปกครองประชาชนในพื้นที่นั้น โดยให้ชื่อตำบลที่ตนเองปกครองว่า ตำบลช้างขวา ตามช้างที่นำมาแยกไปทางขวามือ
ดังนั้น ตำบลช้างขวาจึงเป็นชื่อตำบลที่เก่าแก่มีมานานแล้วตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ไม่สามารถระบุปี พ.ศ. ได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน ซึ่งในตำบลนี้มีกำนันปกครองต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบันนี้ มี
11 คน คือ
1. ขุนบริบาลคชภูมิ กำนันคนแรก
2. นายฟุ้ง สุวรรณภักดี
3. นายเต้ง รัตนทองดี
4. นายพันต้อย ศรีทองกุล
5. นายเคล้า อยู่รักษ์
6. นายปั้น เกลี้ยงเกลา
7. นายกระจ่าง พัฒนจันทร์
8. นายเจริญ หิรัญเรือง
9. นายอ้อน ช่วยแก้ว
10.นายคล้อง สอนขำ
11.นายวัฒนา นวลวัฒน์
12 นายอนันต์ ไทยพัฒน์
ตำบลช้างขวามีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น วัดถ้ำคูหา ถ้ำเหนียวกวน อ่างเก็บน้ำบ้านโคก ถ้ำสำนักสงฆ์นางเอื้อย และสวนป่าชุมชนบ้านนางห้า จากตำนานของการดักช้างแต่โบราณ รวมทั้ง
มีศิลปวัตถุโบราณสถานที่ท่องเที่ยว และทรัพยากรธรรมชาติที่เคยอุดมสมบูรณ์ ตำบลช้างขวาจึงมีคำขวัญประจำตำบลว่า
“พระนอนคู่บ้าน ตำนานช้างงาม ถ้ำคูหาลือนาม
แหล่งน้ำทุ่งหัวสน ผู้คนกล่าวขาน ถิ่นสถานช้างขวา”
ที่มา : 1. ตามจดหมายเหตุพระราชวังพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
2. คำบอกเล่าของนายวัฒนา นวลวัฒน์
|
|
|
|
|
|
|
สภาพทั่วไป |
1.ที่ตั้ง
กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งเทศบาลตำบลช้างขวา จากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลเมื่อวันที่ 17 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 สำนักงานเทศบาลตำบลช้างขวา ตั้งอยู่ เลขที่ 202 หมู่ 3 ตำบลช้างขวา อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากที่ว่าการอำเภอกาญจนดิษฐ์ เป็นระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร และห่างจาก ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร
2.ขนาดพื้นที่ตำบล
มีเนื้อที่ตำบลทั้งหมด 64.66 ตารางกิโลเมตร หรือ 40,414 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.54 ของพื้นที่อำเภอ พื้นที่ตำบลบางส่วนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติทุ่งรัง ควนเสียด บกไก่ฟ้า คลองกง ได้แก่พื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 8 และพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 10
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลกาญจนดิษฐ์ และตำบลตะเคียนทอง
อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลช้างซ้าย และตำบลทุ่งกง
อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลช้างซ้าย อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลทุ่งกง ตำบลทุ่งรัง และตำบลตะเคียนทอง
อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
3.ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ตำบลช้างขวาประมาณ มากกว่าร้อยละ 30 สภาพพื้นที่ค่อนข้างถึงราบเรียบ มีความชื้น 0 -1% ได้แก่พื้นที่ตอนกลางค่อนไปทางตะวันตก ส่วนพื้นที่ที่เหลืออยู่ มักมีสภาพเรียบกึ่งลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ถึงลูกคลื่นลอนลาดกึ่งลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชันระหว่าง 2 – 10 % นอกจากนี้ ยังมีภูเขาเป็นหย่อมๆ ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือตอนกลางตะวันออกเฉียงเหนือด้วย ภายในพื้นที่ตำบลมีคู คลองหลายสายกระจายอยู่ทั่วไป คูคลองเหล่านี้มีทั้งที่เกิดขึ้นเอง และสร้างขึ้น คลองที่สำคัญ เช่น คลองทับท้อน คลองเครียง คลองกงกวัง และคลองพระปิด เป็นต้น
4. มีเนื้อที่
ตำบลช้างขวา มีเนื้อที่ทั้งหมด 40,414 ไร่ จำนวนหมู่บ้าน 14 หมู่ อยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลช้างขวาทั้ง 14 หมู่
หมู่ที่ 1 บ้านหนองยอ จำนวน 3,455 ไร่
หมู่ที่ 2 บ้านไสตอ จำนวน 3,550 ไร่
หมู่ที่ 3 บ้านพุฒ จำนวน 4,200 ไร่
หมู่ที่ 4 บ้านสะพานกฐิน จำนวน 3,797 ไร่
หมู่ที่ 5 บ้านหัวหมากล่าง จำนวน 4,442 ไร่
หมู่ที่ 6 บ้านเขากุมแป จำนวน 3,220 ไร่
หมู่ที่ 7 บ้านมะรอ – หนองลึก จำนวน 2,340 ไร่
หมู่ที่ 8 บ้านห้วยโศก จำนวน 3,200 ไร่
หมู่ที่ 9 บ้านมะม่วงหวาน จำนวน 1,150 ไร่
หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งคา จำนวน 2,115 ไร่
หมู่ที่ 11 บ้านไสตอ – มะรอ จำนวน 2,200 ไร่
หมู่ที่ 12 บ้านห้วยลึก จำนวน 2,415 ไร่
หมู่ที่ 13 บ้านนาดอน จำนวน 2,230 ไร่
หมู่ที่ 14 บ้านประชาสุข จำนวน 2,100 ไร่
|
|
|
|
|
|
|
ข้อมูลประชากร |
ประชากร
1.จำนวนครัวเรือนและประชากรรายหมู่บ้าน พ.ศ. 2555 และ พ.ศ.2556
หมู่ที่
|
ชื่อ
|
จำนวนครัวเรือน
|
จำนวนประชากร
|
2555
|
2556
|
2555
|
2556
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
1
|
บ้านหนองยอ
|
426
|
437
|
546
|
582
|
1,128
|
792
|
795
|
1,587
|
2
|
บ้านไสตอ
|
126
|
126
|
210
|
207
|
417
|
204
|
214
|
418
|
3
|
บ้านพุฒิ
|
354
|
361
|
621
|
653
|
1,274
|
621
|
650
|
1,271
|
4
|
บ้านสะพานกฐิน
|
314
|
321
|
567
|
550
|
1,117
|
575
|
546
|
1,121
|
5
|
บ้านหัวหมากล่าง
|
332
|
336
|
552
|
617
|
1,169
|
545
|
611
|
1,156
|
6
|
บ้านชายเขา
|
118
|
121
|
197
|
222
|
419
|
207
|
235
|
412
|
7
|
บ้านมะรอ-หนองลึก
|
181
|
182
|
281
|
285
|
566
|
284
|
288
|
572
|
8
|
บ้านห้วยโศก
|
202
|
207
|
360
|
378
|
738
|
369
|
384
|
753
|
9
|
บ้านมะม่วงหวาน
|
126
|
128
|
215
|
250
|
465
|
208
|
257
|
465
|
10
|
บ้านทุ่งคา
|
238
|
245
|
389
|
395
|
784
|
404
|
399
|
803
|
11
|
บ้านไสตอ-มะรอ
|
158
|
161
|
244
|
286
|
530
|
248
|
289
|
537
|
12
|
บ้านห้วยลึก
|
136
|
141
|
250
|
266
|
516
|
242
|
265
|
507
|
13
|
บ้านนาดอน
|
43
|
44
|
82
|
74
|
156
|
84
|
74
|
158
|
14
|
บ้านประชาสุข
|
92
|
103
|
121
|
125
|
246
|
123
|
128
|
252
|
15
|
ทะเบียนกลาง
|
3
|
-
|
239
|
200
|
439
|
-
|
-
|
-
|
รวม
|
|
2,849
|
2,913
|
4,874
|
5,090
|
9,964
|
4,906
|
5,136
|
10,042
|
|
|
|
|
|
|
|
รายชื่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้านตำบลช้างขวา |
รายชื่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้านตำบลช้างขวา
1.นายอนันต์ ไทยพัฒน์ กำนันตำบลช้างขวา
2.นายสุเทพ แพรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 1
3.นายวารีรัตน์ ผ่องแผ้ว ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2
4.นายสันติศักดิ์ หิรัญเรือง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3
5.นายสามารถ สกุลพันธ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4
6.นายสายันต์ แจ้งสุวรรณ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6
7.นายเดโช ทองปาน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7
8.นายสมบูรณ์ ไชยเชนทร์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8
9.นายสมชาย หีตหนู ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9
10.นายภานุ สอนขำ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10
11.นายสายัณห์ พ้นภัย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11
12.นายสุธรรม วิชัยดิษฐ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 12
13.นายโกวิท ลิลา ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 13
14.นางสาวดวงพร ศรีอุไร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 14
รายชื่อประธาน อสม.
1. นายวินัย เพ็งรัตน์ ประธาน อสม. หมู่ที่ 1
2. นางยุวดี หิรัญเรือง ประธาน อสม. หมู่ที่ 2
3. นางปทุมรัตน์ หิรัญเรือง ประธาน อสม. หมู่ที่ 3
4. นางอิสราภรณ์ นาคประดิษฐ์ ประธาน อสม. หมู่ที่ 4
5. นายจิตติ หิรัญเรือง ประธาน อสม. หมู่ที่ 5
6. นายอุทัย นวลวัฒน์ ประธาน อสม. หมู่ที่ 6
7. นางกนกวรรณ ชูแสง ประธาน อสม. หมู่ที่ 7
8. นางสุนิสา สิงห์โส ประธาน อสม. หมู่ที่ 8
9. นางอมร พรหมอินทร์ ประธาน อสม.หมู่ที่ 9
10. นายจารุวัฒน์ ใจปลื้ม ประธาน อสม.หมู่ที่ 10
11. นายจรูญ เพชรรัตน์ ประธาน อสม. หมู่ที่ 11
12. นางศิริลักษณ์ วิชัยดิษฐ์ ประธาน อสม. หมู่ที่ 12
13. นางนิศามณี ลิลา ประธาน อสม.หมู่ที่ 13
14. นางวรรณี สอนขำ ประธาน อสม. หมู่ที่ 14
|
|
|
|
|
|
|
วัดในเขตเทศบาลตำบลช้างขวา |
วัดในเขตเทศบาลตำบลช้างขวามีจำนวน 6 แห่ง ได้แก่
1. วัดคูหา ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลช้างขวา
2. วัดนางห้า ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลช้างขวา
3. วัดพุทธเจดีย์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลช้างขวา
4. วัดหัวหมากล่าง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลช้างขวา
5. วัดเขากุมแป ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลช้างขวา
6. วัดยางหมู่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลช้างขวา
|
|
|
|
|
|
|
สภาพเศรษฐกิจ |
อาชีพประชากรในตำบลช้างขวาที่อยู่อาศัยบริเวณนอกป่าสงวน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ได้แก่ ทำนา ทำสวน และรับจ้างในการเกษตร โดยมีเกษตรกรผู้ทำการเพาะปลูกถึงร้อยละ 90 ของจำนวนครอบครัวทั้งหมดนอกเขตป่าสงวน ส่วนครอบครัวที่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย รับราชการ มีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ตำบลช้างขวา ตั้งอยู่ในพื้นที่ตอนล่างค่อนไปทาง ทิศตะวันออกของอำเภออยู่ห่างจากเทศบาลเมือง สุราษฎร์ธานี ประมาณ 11 กิโลเมตร ลักษณะพื้นที่ราบเป็นส่วนใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมด 40,500 ไร่ เป็นพื้นที่การเกษตร จำนวน 1,574 ครัวเรือน แยกเป็น
1. นาร้าง จำนวน 5,910 ไร่
2. ทำนา จำนวน 1,000 ไร่
3. ยางพารา จำนวน 9,255 ไร่
4. ปาล์มน้ำมัน จำนวน 4,000 ไร่
5. มะพร้าว จำนวน 78 ไร่
6. ไม้ผล จำนวน 4,580 ไร่
7. พืชไร่ จำนวน 1,000 ไร่
8. พืชผัก จำนวน 1,000 ไร่
9. ป่าไม้ จำนวน 1,000 ไร่
10. ว่างเปล่า จำนวน 12,171 ไร่
11. อื่น ๆ จำนวน 506 ไร่
|
|
|
|
|
|
|
ด้านการศึกษา |
มีสถานศึกษาในเขตพื้นที่ตำบลช้างขวา ดังนี้
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลช้างขวา ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 ตำบลช้างขวา
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านไสตอ ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 ตำบลช้างขวา
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านหัวหมากล่าง ตังอยู่หมู่ 5 ตำบลช้างขวา
โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 5 แห่ง ได้แก่
1. โรงเรียนบ้านมะม่วงหวาน ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลช้างขวา
2. โรงเรียนบ้านไสตอ ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 ตำบลช้างขวา
3. โรงเรียนวัดพุฒ ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งกง
4. โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านสะพานกฐิน) ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลช้างขวา
5. โรงเรียนบ้านห้วยโศก ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลช้างขวา
6. โรงเรียนบ้านหัวหมากล่าง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลช้างขวา
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง ได้แก่
1. โรงเรียนบ้านห้วยโศก (ร.ร.ขยายโอกาส) ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลช้างขวา
|
|
|
|
|
|
|
ด้านสาธารณสุข |
มีสถานบริการด้านสาธารณสุขในเขตพื้นที่ ดังนี้
โรงพยาบาล จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช้างขวา ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลช้างขวา
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวหมากล่าง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5
ตำบลช้างขวา
|
|
|
|
|
|
|
การบริการพื้นฐาน |
1.การคมนาคม
การคมนาคมติดต่อระหว่างตำบลช้างขวากับศูนย์กลางชุมชน ของอำเภอกาญจนดิษฐ์และอำเภออื่นๆ มีเส้นทางการคมนาคมที่สำคัญคือ เส้นทางคมนาคมทางบก โดยมีถนนที่ท้องถิ่นกระจายเป็นโครงข่าย โดยมีถนนสายสำคัญหลายสาย เช่น ถนนสายหลักที่ผ่านตอนเหนือของตำบลในหมู่ที่ 3 , 4, 7 , 2, 11 เชื่อมการคมนาคมระหว่างตำบลช้างขวากับตำบลตะเคียนทองและตำบลช้างซ้าย โดยถนนผ่านในแนวจากทิศเหนือไปทางทิศตะวันออก นอกจากนั้นยังมีถนนในท้องถิ่นที่ผ่านหมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 5 เชื่อมการคมนาคมระหว่างตำบลช้างขวากับตำบลทุ่งกงและตำบลช้างซ้าย โดยผ่านพื้นที่ตอนกลางของตำบลในแนวตะวันตกไปตะวันออกเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางที่ประชาชนในตำบลช้างขวาใช้ผ่านออกสู่เทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์และเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันถนนสายหลักเหล่านี้เป็นถนนลาดยาง ผิวจราจรระหว่าง 5.00 – 6.00 เมตร การคมนาคมภายในตำบลและระหว่างตำบล นอกจากถนนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักของตำบลที่ใช้ในการคมนาคมติดต่อทั้งภายในตำบล ระหว่างตำบลและอำเภอตลอดจนเป็นเส้นทางหลักที่ใช้ในการขนส่งผลผลิตแล้ว ยังมีเส้นทางสายรองได้แก่ ถนนในท้องถิ่นซึ่งแยกจากถนนสายหลักที่ใช้ในหมู่ที่ 3 ไปเชื่อมกับถนนสายหลักในหมู่ที่ 4 ในแนวทิศเหนือไปทิศใต้
ผิวจราจรของถนนสายรองเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นถนนลาดยาง ผิวจราจรประมาณ 5.00-6.00 เมตร ถนนสายรองนี้เป็นเส้นทางที่ประชาชนจากหมู่บ้านต่างใช้ในการเดินทางและขนส่งผลผลิตออกจากหมู่บ้านสู่ถนนสายหลักจากถนนสายรองจะมีถนนสายย่อยอื่นๆแยกเข้าสู่กลุ่มบ้านหรือพื้นที่เกษตรซึ่งถนนมักมีผิวจราจรแคบ ขรุขระ ลักษณะผิวจราจรเป็นลูกรังและดิน เป็นอุปสรรคต่อการสัญจรไปมา ถนนเหล่านี้ใช้ในการเดินทางติดต่อภายในหมู่บ้านหรือกลุ่มหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงและเป็นเส้นทางเข้าสู่พื้นที่เกษตร
2. การโทรคมนาคม
ในตำบลช้างขวาด้านโทรคมนาคมนั้นยังไม่ทั่วถึง โทรศัพท์มีใช้เฉพาะหมู่ที่ 1 บ้านหนองยอ ส่วนโทรศัพท์สาธารณะมีทั้งหมด 5 จุด ในพื้นที่ตำบลช้างขวา ซึ่งไม่พอต่อความต้องการของประชาชนในตำบล
ในตำบลช้างขวา ไม่มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ส่วนมากประชาชนเข้าไปใช้บริการที่ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอำเภอกาญจนดิษฐ์
3. การไฟฟ้า
ปัจจุบันการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ให้บริการกระแสไฟฟ้าครบทุกหมู่แล้วแต่ยังไม่ครบทุกครัวเรือน มีไม่กี่ครัวเรือนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้
4. การสาธารณูปโภค
แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรที่สำคัญของตำบลช้างขวา ได้แก่ น้ำฝน น้ำจากลำคลองและคูส่งน้ำ ซึ่งลำคลองและคูเหล่านี้มีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่ขุดขึ้นกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ตำบล เช่นคลองกงตาก คลองเคียง เป็นต้น นอกจากนั้นตำบลช้างขวายังได้รับน้ำเพื่อการเกษตรจากโครงการชลประทานขนาดเล็ก คือ โครงการทำนบดินคลองโค๊ะ เนื้อที่ชลประทาน 300ไร่และมีอ่างเก็บน้ำทุ่งหัวสน ตั้งอยู่หมู่ที่3
แหล่งน้ำอุปโภค - บริโภค
แหล่งน้ำสำคัญในการอุปโภคของประชาชนที่อยู่ในตำบลช้างขวา ได้แก่ น้ำจากบ่อน้ำตื้น บ่อบาดาล และน้ำจากคลอง สำหรับบ่อน้ำตื้นมีทั้งบ่อน้ำตื้นสาธารณะและบ่อน้ำตื้นของอกชน แต่ส่วนใหญ่เป็นของเอกชน ในตำบลช้างขวา มีบ่อน้ำประมาณมากกว่า 1,000 บ่อ มีความลึกระหว่าง 4 – 10 เมตร หมู่บ้านที่ใช้น้ำตื้นได้แก่ หมู่ที่ 1 – 13 และมีบ่อน้ำทั้งที่เป็นเอกชนและสาธารณะ มีความลึกประมาณ 30 เมตร หมู่บ้านที่มีบ่อน้ำบาดาลใช้ ได้แก่หมู่ที่ 1 – 11 นอกจากนั้นประชาชนบางส่วนของหมู่ที่ 8 ยังมีน้ำจากคลองกงตากอีกด้วย
|
|
|
|
|
|
|
ภาพรวมรายได้ครัวเรือน |
|
พื้นที่
|
จำนวนครัวเรือน
|
จำนวนคน
|
แหล่งรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย (บาท/ปี)
|
รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย(บาท/ปี)
|
รายได้บุคคลเฉลี่ย
(บาท/ปี)
|
อาชีพหลัก
|
อาชีพรอง
|
รายได้อื่น
|
ปลูก เลี้ยงหาเอง
|
1
|
หมู่ที่ 4 บ้านสะพานกฐิน
|
234
|
776
|
258,784
|
39,861
|
21,021
|
20,280
|
339,946
|
102,510
|
2
|
หมู่ที่ 7 มะรอ
|
72
|
248
|
223,407
|
88,456
|
16,246
|
19,904
|
348,013
|
101,036
|
3
|
หมู่ที่ 10 ทุ่งคา
|
161
|
527
|
255,548
|
46,516
|
8,627
|
3,665
|
314,356
|
96,037
|
4
|
หมู่ที่ 2 ไสตอ
|
80
|
261
|
231,405
|
48,800
|
22,263
|
3,250
|
305,718
|
93,707
|
5
|
หมู่ที่1 หนองยอ
|
243
|
816
|
247,190
|
46,503
|
7,081
|
3,235
|
304,009
|
90,532
|
6
|
หมู่ที่ 5 หัวหมากล่าง
|
194
|
627
|
181,704
|
48,830
|
28,320
|
6,903
|
265,757
|
82,228
|
7
|
หมู่ที่ 12 ห้วยลึก
|
83
|
270
|
198,916
|
40,819
|
18,735
|
5,434
|
263,904
|
81,126
|
8
|
หมู่ที่ 14 ประชาสุข
|
70
|
181
|
121,829
|
43,617
|
18,303
|
23,600
|
207,349
|
80,190
|
9
|
หมู่ที่ 9 มะม่วงหวาน
|
89
|
299
|
187,393
|
52,253
|
10,064
|
10,416
|
260,126
|
77,429
|
10
|
หมู่ที่ 11 ไสตอ-มะรอ
|
84
|
256
|
204,786
|
19,821
|
4,024
|
3,250
|
231,881
|
76,086
|
11
|
หมู่ที่ 13 นาดอน
|
35
|
114
|
195,200
|
31,429
|
16,349
|
1,429
|
244,406
|
75,037
|
12
|
หมู่ที่ 8 ห้วยโศก
|
134
|
528
|
247,869
|
16,863
|
6,243
|
2,910
|
273,886
|
69,509
|
13
|
หมูที่ 3 พุฒ
|
139
|
453
|
193,309
|
19,147
|
4,439
|
2,194
|
219,090
|
67,226
|
14
|
หมู่ที่ 6 เขากุมแป
|
70
|
276
|
231,986
|
9,857
|
|
286
|
242,129
|
61,409
|
|
ทุกพื้นที่
|
1,688
|
5,632
|
211,379
|
39,888
|
13,370
|
7,833
|
282,470
|
84,661
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|